วันอังคารที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2554

2 องค์กรมรดกโลก











มรดกโลก (อังกฤษ: World Heritage Site; ฝรั่งเศส: Patrimoine Mondial) คือ

สถานที่ อันได้แก่ ป่าไม้ ภูเขา ทะเลสาบ ทะเลทราย อนุสาวรีย์ สิ่งก่อสร้างต่างๆ รวมไปถึงเมือง ซึ่งคัดเลือกโดยองค์การยูเนสโกตั้งแต่ปี พ.ศ. 2515 เพื่อเป็นการบ่งบอกถึงคุณค่าของสิ่งที่มนุษยชาติ หรือธรรมชาติได้สร้างขึ้นมา และควรจะปกป้องสิ่งเหล่านั้นได้อย่างไร เพื่อให้ได้ตกทอดไปถึงอนาคต
ใน พ.ศ. 2553 มีมรดกโลกที่ขึ้นทะเบียนแล้วทั้งสิ้น 911 แห่ง แบ่งออกเป็นมรดกโลกทางวัฒนธรรม 704 แห่ง มรดกโลกทางธรรมชาติ 180 แห่ง และมรดกโลกแบบผสม 27 แห่ง ตั้งอยู่ใน 151 ประเทศ โดยอิตาลีเป็น ประเทศที่มีจำนวนมรดกโลกมากที่สุด คือ 44 แห่ง แม้ว่ายูเนสโกจะอ้างอิงถึงมรดกโลกแต่ละแห่งด้วยหมายเลข แต่การขึ้นทะเบียนในหลายครั้งก็จะผนวกเอามรดกโลกที่ได้ขึ้นทะเบียนไปแล้ว เข้าเป็นส่วนหนึ่งของมรดกโลกที่มีพื้นที่มากขึ้น ดังนั้นจึงมีหมายเลขมรดกโลกเกิน 1,200 ไปแล้วแม้ว่าจะมีจำนวนมรดกโลกน้อยกว่าก็ตาม
มรดกโลกแต่ละแห่งเป็นทรัพย์สินของประเทศที่เป็นเจ้าของดินแดนที่มรดกโลก ตั้งอยู่ แต่ได้ถูกพิจารณาให้เป็นผลประโยชน์ของประชาคมระหว่างประเทศในการอนุรักษ์ มรดกโลกแห่งนั้น

สถิต


ในปัจจุบัน มีมรดกโลกทั้งหมด 830 แห่ง ใน 138 ประเทศทั่วโลก ซึ่งแบ่งเป็นมรดกโลกทางวัฒนธรรม 644 แห่ง มรดกโลกทางธรรมชาติ 162 แห่ง และอีก 24 แห่งเป็นแบบผสมทั้งสองประเภท โดยมีการแบ่งออกเป็น 5 พื้นที่ ได้แก่ แอฟริกา อาหรับ เอเชียแปซิฟิก ยุโรป - อเมริกาเหนือ และ อเมริกาใต้ - แคริบเบียน
หมายเหตุ: มรดกโลกในประเทศตุรกีและรัสเซียนั้น นับรวมเข้ากับทวีปยุโรป

ลำดับของประเทศที่มีแหล่งมรดกโลกมากที่สุด

    
 ลำดับประเทศ / รวม
1.               อิตาลี / 41
2.               สเปน / 40
3.               จีน / 35
4.               เยอรมนี / 32
5.               ฝรั่งเศส / 31
6.               สหราชอาณาจักร / 27
7.               อินเดีย / 27
8.               เม็กซิโก / 27
9.               รัสเซีย / 23









สาเหตุที่ประเทศไทยลาออกจากการเป็นภาคีสมาชิกมรดกโลก

เมื่อเวลาประมาณ 23.45 น. วันที่ 25 มิถุนายน นายสุวิทย์ คุณกิตติ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ในฐานะหัวหน้าคณะผู้แทนไทยในการประชุมคณะกรรมการมรดกโลก แถลงที่กรุงปารีส ว่า ไทยได้ยื่นหนังสือลาออกจากการเป็นภาคีอนุสัญญามรดกโลกและกรรมการมรดกโลก หลังจากศูนย์มรดกโลกและยูเนสโกไม่ได้ฟังข้อทักท้วงของไทย ทั้งนี้ในร่างมติที่มีการเสนอให้มีการพิจารณา มีเรื่องการเลื่อนแผนบริหารจัดการของเขมรออกไป ซึ่งเป็นไปในแนวทางที่รัฐบาลต้องการ แต่ในร่างมติของยูเนสโกที่เสนอเข้ามา ยอมให้มีการเลื่อนการพิจารณาแผนบริหารจัดการของเขมรออกไปจริง แต่มีข้อความและข้อกำหนดที่อาจทำให้ไทยเสียเปรียบ
   ทั้งนี้มีการเจรจาล็อบบี้กับสมาชิกมาตลอดตั้งแต่เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน มีการหารือกันมาตลอด แต่ก็เห็นได้ชัดว่ายูเนสโกพยายามผลักดันแผนตัวเอง ประเด็นสำคัญที่ฝ่ายไทยรับไม่ได้คือ แผนบูรณะตัวปราสาทพระวิหาร ซึ่งในแผนที่ยูเนสโกเสนอได้ระบุเรื่องการเข้ามาในพื้นที่ 4.6 ตารางกิโลเมตร ซึ่งเป็นพื้นที่ที่อยู่ในอธิปไตยของไทย อยู่นอกเหนือจากตัวปราสาทพระวิหาร ขณะเดียวกันพื้นที่รอบตัวปราสาทกัมพูชาก็ได้ยึดครองบางส่วน เป็นพื้นที่ที่ยังไม่มีข้อยุติชัดเจนว่าแนวเขตแดนอยู่ตรงไหน
   ก่อนหน้านี้ฝ่ายไทยยังได้นำโมเดลของทางทหารไปชี้แจง เพื่อให้เห็นสภาพที่เกิดขึ้นว่า ถ้าหากมีการขึ้นทะเบียนและรับรองแผนบริหารจัดการของกัมพูชาจะนำไปสู่ความขัด แย้งมากยิ่งขึ้น
   นายสุวิทย์ยังย้ำว่า หากไทยลาออกจากคณะกรรมการมรดกโลกแล้ว ผลใดๆ ก็ตามที่เกิดขึ้นจากการกระทำของสมาชิกคณะกรรมการมรดกโลกก็จะไม่มีผลผูกพัน ต่อประเทศไทย หมายความว่า ทางคณะกรรมการมรดกโลกจะให้กัมพูชาเข้าดำเนินกิจกรรมใดๆ ที่เป็นการรุกล้ำเข้ามาในดินแดนของไทยไม่ได้เป็นอันขาด หากว่ามีการประกาศขึ้นทะเบียนพระวิหารเป็นมรดกโลก และยอมรับแผนการจัดการพื้นที่รอบปราสาทพระวิหารของกัมพูชา บางส่วนที่รุกล้ำเข้ามาในฝ่ายไทยนั้น ต้องมีการขออนุญาตรัฐบาลไทยก่อน จะกระทำการใดๆ ไม่ได้ เนื่องจากไทยไม่ได้อยู่ภายใต้อำนาจของคณะกรรมการมรดกโลก และไม่มีผลผูกพันใดๆ
   นายสุวิทย์ กล่าวอีกว่า การตัดสินใจลาออกในครั้งนี้ ได้ไตร่ตรองและผ่านการศึกษาอย่างรอบคอบ รวมถึงได้โทรศัพท์พูดคุยกับนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี รับทราบการตัดสินใจและเห็นว่ารัฐบาลไทยไม่มีทางเลือกในการลาออกจากกรรมการ มรดกโลกครั้งนี้ ซึ่งจะเดินทางกลับถึงประเทศไทยในช่วงเช้าวันที่ 27 มิถุนายนนี้



1 ผลการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร


การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2554
เป็นการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป ภายใต้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 อันกำหนดให้มีขึ้นในวันอาทิตย์ที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2554 ตามความในพระราชกฤษฎีกายุบสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2554 ที่ให้ยุบสภาผู้แทนราษฎรเสีย ณ วันที่ 10 พฤษภาคม 2554
การเลือกตั้งครั้งนี้มีขึ้นในห้วงที่พรรคประชาธิปัตย์เป็นแกนนำรัฐบาล อันประกอบด้วยพรรคร่วมรัฐบาลหลายพรรค และได้มีการชุมนุมของแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติอย่างต่อ เนื่อง นับตั้งแต่ พ.ศ. 2554 เป็นต้นมา คะแนนนิยมของรัฐบาลลดต่ำลงอย่างต่อเนื่อง และคาดว่าเป็นสาเหตุที่ทำให้ต้องมีการเลือกตั้งก่อนสภาผู้แทนราษฎรจะครบวาระ
มีผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งออกมาใช้สิทธิ์ทั้งสิ้น 75.03%ผลปรากฏว่าพรรคเพื่อไทยได้ที่นั่งผู้แทนราษฎรเกินกึ่งหนึ่ง 265 ที่นับเป็นครั้งที่สองในรอบทศวรรษที่มีพรรคการเมืองได้รับคะแนนเสียงเกินกึ่งหนึ่งในสภาผู้แทนราษฎรและยิ่งลักษณ์ ชินวัตรเป็นว่าที่นายกรัฐมนตรีหญิงคนแรกของประเทศไทย ส่วนพรรคประชาธิปัตย์ได้เป็นพรรคฝ่ายค้านหลัก โดยได้ที่นั่งผู้แทนราษฎร 159 ที่
รูปแบบการเลือกตั้ง
โดยรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 1) พุทธศักราช 2554 กำหนดให้สภาผู้แทนราษฎรประกอบด้วยสมาชิกจำนวน 500 คน โดยเป็นสมาชิกซึ่งมาจากการเลือกตั้งแบบแบ่งเขตเลือกตั้งจำนวน 375 คน และสมาชิกซึ่งมาจากการเลือกตั้งแบบบัญชีรายชื่อจำนวน 125 คน



พรรคการเมืองที่ลงสมัคร
พรรคประชาธิปัตย์ซึ่งเป็นพรรคแกนนำรัฐบาลตั้งแต่ พ.ศ. 2551 มีอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะเป็นหัวหน้าพรรค โดยดำรงตำแหน่งมาตั้งแต่ พ.ศ. 2548 ต่อจากบัญญัติ บรรทัดฐาน ส่วนพรรคเพื่อไทยยังไม่เปิดเผยผู้สมัครท้าชิงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีชัดเจน จนกระทั่งวันที่ 16 พฤษภาคม เมื่อยิ่งลักษณ์ ชินวัตร น้องสาวอดีตนายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตร ได้รับมติเอกฉันท์จากที่ประชุมกรรมการบริหารพรรค เป็นผู้สมัครระบบบัญชีรายชื่อลำดับที่ 1 นอกจากนี้ยังมีการจัดผู้สมัครบัญชีรายชื่อ 2 ชุด คือบัญชีผู้สมัคร สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรระบบบัญชีรายชื่อเพื่อทำงานในสภา กับบัญชีผู้บริหารเพื่อทำงานในตำแหน่งรัฐมนตรีต่างๆ
ด้านพรรคชาติไทยพัฒนา ส่งชุมพล ศิลปอาชา หัวหน้าพรรค เป็นผู้สมัครระบบบัญชีรายชื่อลำดับที่ 1 ทางพรรคชาติพัฒนาเพื่อแผ่นดิน ที่เกิดจากการรวมพรรครวมชาติพัฒนาและพรรคเพื่อแผ่นดินนั้น ส่งชาญชัย ชัยรุ่งเรือง เป็นผู้สมัครระบบบัญชีรายชื่อลำดับที่ 1 ทางพรรครักประเทศไทย ได้ส่งชูวิทย์ กมลวิศิษฎ์เป็นผู้สมัครระบบบัญชีรายชื่อลำดับที่ 1 โดยประกาศจะขอทำหน้าที่ฝ่ายค้านส่วนพรรคการเมืองใหม่ โฆษกพรรค สุริยะใส กตะศิลา ยืนยันว่าพรรคจะไม่ส่งผู้สมัครรับเลือกตั้ง ส่วนที่สมศักดิ์ โกศัยสุข หัวหน้าพรรค ออกมาประกาศว่าจะส่งผู้สมัครลงรับเลือกตั้งนั้น ไม่ใช่มติพรรค


เขตเลือกตั้ง

ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเมื่อปี พ.ศ. 2550 ก่อนหน้านี้นั้นเป็นแบบ "เขตเดียวสามเบอร์" คือมีการแบ่งเขตเลือกตั้งโดยที่การแบ่งเขตนั้นแต่ละเขตจะมีจำนวนประชากรใน เขตที่ต่างกัน ดังนั้นแต่ละเขตจะมีจำนวนผู้แทนได้ไม่เท่ากัน ตั้งแต่ 1-3 คน ตามขนาดของประชากรในเขต ซึ่งผู้มีสิทธิ์ออกเสียงเลือกตั้ง สามารถกาบัตรเลือกผู้สมัครได้จำนวน เท่ากับจำนวนผู้แทนในเขตของตน แต่การเลือกตั้งผู้แทนในครั้งนี้ แบบแบ่งเขตในครั้งนี้มีรูปแบบการลงคะแนนเป็นแบบ "เขตเดียวเบอร์เดียว" คือ การแบ่งเขตเลือกตั้งนั้นจะแบ่งเป็น 375 เขต โดยยึดหลักให้แต่ละเขตนั้นมีจำนวนประชากรที่ใกล้เคียงกันให้มากที่สุด ดังนั้นในแต่ละเขตจะมีผู้แทนได้เขตละ 1 คนอย่างเท่าเทียมกัน และผู้มีสิทธิ์ออกเสียงเลือกตั้ง สามารถกาบัตรเลือกผู้สมัครได้เพียงคนเดียว
แต่ละจังหวัด มีจำนวนเขตเลือกตั้งดังต่อไปนี้
พื้นที่                                                         จำนวน สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
กรุงเทพมหานคร =33
จังหวัดนครราชสีมา =15
 จังหวัดอุบลราชธานี =11
จังหวัดเชียงใหม่, จังหวัดขอนแก่น =10
จังหวัดอุดรธานี, จังหวัดนครศรีธรรมราช และจังหวัดบุรีรัมย์= 9
จังหวัดชลบุรี, จังหวัดร้อยเอ็ด, จังหวัดศรีสะเกษ, จังหวัดสุรินทร์ และจังหวัดสงขลา =8
จังหวัดชัยภูมิ, จังหวัดเชียงราย, จังหวัดสมุทรปราการ และจังหวัดสกลนคร =7
 จังหวัดนครสวรรค์, จังหวัดนนทบุรี, จังหวัดสุราษฎร์ธานี,จังหวัดปทุมธานี, จังหวัดเพชรบูรณ์ และจังหวัดกาฬสินธุ์ =6
 จังหวัดกาญจนบุรี, จังหวัดนครปฐม, จังหวัดพระนครศรีอยุธยา, จังหวัดพิษณุโลก
จังหวัดมหาสารคาม, จังหวัดราชบุรี และจังหวัดสุพรรณบุรี =5
จังหวัดกำแพงเพชร, จังหวัดฉะเชิงเทรา, จังหวัดตรัง, จังหวัดนครพนม, จังหวัดนราธิวาส, จังหวัดปัตตานี
จังหวัดระยอง, จังหวัดลพบุรี, จังหวัดลำปาง, จังหวัดเลย, จังหวัดสระบุรี และจังหวัดสุโขทัย =4
จังหวัดกระบี่, จังหวัดจันทบุรี, จังหวัดชุมพร, จังหวัดตาก, จังหวัดน่าน, จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
จังหวัดปราจีนบุรี, จังหวัดพะเยา, จังหวัดพัทลุง, จังหวัดพิจิตร, จังหวัดอุตรดิตถ์, จังหวัดเพชรบุรี
จังหวัดแพร่, จังหวัดยโสธร, จังหวัดยะลา, จังหวัดสมุทรสาคร, จังหวัดสระแก้ว, จังหวัดหนองคาย และจังหวัดหนองบัวลำภู =3
 จังหวัดชัยนาท, จังหวัดภูเก็ต, จังหวัดมุกดาหาร, จังหวัดลำพูน, จังหวัดสตูล
จังหวัดอ่างทอง, จังหวัดอำนาจเจริญ, จังหวัดอุทัยธานี และจังหวัดบึงกาฬ =2
จังหวัดตราด, จังหวัดนครนายก, จังหวัดพังงา, จังหวัดแม่ฮ่องสอน
จังหวัดระนอง, จังหวัดสิงห์บุรี
และจังหวัดสมุทรสงคราม =1



รายชื่อผู้สมัคร ส.ส. บัญชีรายชื่อ      
 หมายเลข
ชื่อพรรค
จำนวนผู้สมัคร
วันที่สมัคร
1
 เพื่อไทย
125
 19 พ.ค. 54
2
  ชาติพัฒนาเพื่อแผ่นดิน
125
19 พ.ค. 54
3
  ประชาธิปไตยใหม่
006
19 พ.ค. 54
4
  ประชากรไทย
013
19 พ.ค. 54
5
  รักประเทศไทย
011
19 พ.ค. 54
6
  พลังชล
018
19 พ.ค. 54
7
  ประชาธรรม
025
19 พ.ค. 54
8
  ดำรงไทย
013
19 พ.ค. 54
9
  พลังมวลชน
008
19 พ.ค. 54
10
  ประชาธิปัตย์
125
19 พ.ค. 54
11
  ไทยพอเพียง
003
19 พ.ค. 54
12
  รักษ์สันติ
064
19 พ.ค. 54
13
  ไทยเป็นสุข
005
19 พ.ค. 54
14
  กิจสังคม
125
19 พ.ค. 54
15
  ไทยเป็นไท
010
19 พ.ค. 54
16
  ภูมิใจไทย
125
19 พ.ค. 54
17
  แทนคุนแผ่นดิน
032
19 พ.ค. 54
18
  เพื่อฟ้าดิน
001
19 พ.ค. 54
19
  เครือข่ายชาวนาแห่งประเทศไทย
030
19 พ.ค. 54
20
  การเมืองใหม่
024
19 พ.ค. 54
21
  ชาติไทยพัฒนา
125
19 พ.ค. 54
22
  เสรีนิยม
008
19 พ.ค. 54
23
  ชาติสามัคคี
009
19 พ.ค. 54
24
  บำรุงเมือง
014
19 พ.ค. 54
25
  กสิกรไทย
002
19 พ.ค. 54
26
  มาตุภูมิ
040
19 พ.ค. 54
27
  ชีวิตที่ดีกว่า
004
19 พ.ค. 54
28
  พลังสังคมไทย
005
19 พ.ค. 54
29
  เพื่อประชาชนไทย
004
19 พ.ค. 54
30
  มหาชน
006
19 พ.ค. 54
31
  ประชาชนชาวไทย
005
21 พ.ค. 54
32
  รักแผ่นดิน
001
23 พ.ค. 54
33
  ประชาสันติ
034
23 พ.ค. 54
34
  ความหวังใหม่
125
23 พ.ค. 54
35
  อาสามาตุภูมิ
003
23 พ.ค. 54
36
  พลังคนกีฬา
103
23 พ.ค. 54
37
  พลังชาวนาไทย
005
23 พ.ค. 54
38
  ไทยสร้างสรรค์
004
23 พ.ค. 54
39
  เพื่อนเกษตรไทย
023
23 พ.ค. 54
40
  มหารัฐพัฒนา
002
23 พ.ค. 54
รวม
1,410